วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ สองสลึง



ผมกลับไปเยี่ยมศูนย์สองสลึงประมาณเดือน กันยายน 55 ที่ผ่านมา ก็เห็นป่าไม้แปลงหน้าศูนย์ ต้นไม้เติบโตเต็มที่ ผู้ใหญ่สมศักดิ์ครอบครัวและผู้ร่วมงานก็สบายกันดี  ผมเดินดูมุมต่างๆภายในศูนย์ก็ร่มรื่นเย็นสบายไปทุกส่วน ใครสนใจก็เรียนเชิญกันครับ

                ที่จริงแล้วบล็อกนี้หยุดการเคลื่อนไหวไปนานเพราะเห็นว่าบล็อกหลักทำได้ดีแล้ว แม้ผมเองเป็นคนแรกที่เริ่มบุกเบิกเรื่องการทำฐานข้อมูลของศูนย์นี้มา แต่เมื่ออาทิตย์ที่แล้วนั่งดูบล็อกของศูนย์เห็นมีหลายๆคนสานต่องานและทำได้ดีกว่าผมเยอะซึ่งเป็นเรื่องที่น่าภูมิใจมาก เพราะไม่ว่านักเรียนนักศึกษาและผู้สนใจในเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้ แต่เมื่อวานเข้าไปดูปรากฏว่าโดนไวรัสเล่นงานเลยขึ้นมาอับบล็อกนี้เอาไว้ เผื่อมีอะไรเปลี่ยนแปลงผู้ที่เข้ามาทำหน้าที่ตรงนี้ได้เอาไปใช้ต่อไปได้

                การทำงานในระบบจิตอาสานั้นมันเป็นเรื่องง่ายๆทำได้ทุกคน เพราะถ้าทำแล้วตนเองสบายใจ สบายใจในการเสียทรัพย์ เสียความคิด เสียแรงงานและเวลา หากหลายๆคนที่ทำงานในระบบจิตอาสาคิดอย่างนี้ได้แล้ว งานก็เดินต่อไปได้เพราะความสบายใจ มีความสุขที่ได้ทำได้ให้ได้แบ่งปัน

                ผมเองได้มาฝึกอบรมที่นี้มาด้วยการสืบค้นข้อมูลซึ่งขณะนั้นระบบอินเตอร์เน็ตยังไม่แพร่หลาย ก็รู้แบบปากต่อปาก บังเอิญโชคดีที่มาก่อนวันมีอบรมแค่คืนเดียวรุ่งเช้าผมก็ได้เข้ารับการอบรมเลย และหลังจากอบรมเสร็จก็บอกครอบครัวเลยว่า ผมจะกลับบ้านเพราะผมเห็นอนาคตของลูกแล้ว

                ครับในเรื่องของศูนย์สองสลึงนั้นในฐานะผมเป็นผลผลิตจากศูนย์แห่งนี้ ก็ใคร่ขอนำเสนอในมุมของผมนะ เพราะการที่ผมได้เป็นศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน วิชา แนวคิดแนวทำ สถานที่แห่งนี้เป็นผู้ผลิตผมมา เพราะสิ่งที่ได้มานั้นผมนำมาปฏิบัติจริงในครอบครัวเช่น เผาถ่าน ทำน้ำยาล้างจาน ทำปุ๋ย ทำน้ำส้มควันไม้ ทำเห็ด เลี้ยงปลาเลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ เลี้ยงหมูเลี้ยงวัว และขยายต่อชุมชน ตำบล อำเภอ จังหวัด และประเทศ

                ก็ต้องกราบขอบพระคุณผู้ใหญ่สมศักดิ์  เครือวัลย์ อ.ยงยุทธ์  เสมอมิตร พี่ๆน้องๆที่ร่วมงานกันทุกคนครับ 
ผู้ใหญ่สมศักดิ์  เครือวัลย์ 

อ.ยงยุทธ  เสมอมิตร

บทสัมภาษณ์รายการวิทยุ 
ตัวแทนที่ประชุมระดับชาติ

วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

จากรุ่นสู่รุ่น



          เพื่อนพองน้องพี่ที่รักครับเอกคงจะวางมืออย่างเป็นทางการเสียที สำหรับการปฏิบัติหน้าที่ตรงนี้ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาก็ได้ทำหน้าที่อย่างสุดความสามารถแล้ว การทำงานในระบบจิตอาสานั้นสิ่งที่ได้สูงสุดคือความยินดีที่ได้ทำแค่นั้นเอง ผมว่าทุกๆท่านเคยผ่านการเรียนหรือการทำงานในแบบรุ่นสู่รุ่นมาด้วยกันทั้งนั้น ในระบบการเรียนก็มีรุ่นพี่รุ่นน้อง ที่เป็นทหารตำรวจอันนี้จะเข้าใจระบบรุ่นมากหน่อย ในฐานะผู้ริเริ่มทำสื่อให้กับศูนย์งานที่ทำขั้นพื้นฐานได้เสร็จลุล่วงไปนานแล้ว การประคับประคองก็ผ่านมาด้วยดี จึงพูดได้เต็มปากว่างานที่ทำเสร็จทั้งหมดแล้ว
            โอกาสสุดท้ายที่ไปเยี่ยมศูนย์เมื่อ พ.ค.๕๓ ก็ได้เห็นความเปลี่ยนแปลงในหลายๆด้าน ทั้งรูปแบบ ความคิด และจิตวิณญาณ มีเหลือไว้ที่เหมือนเดิมก็คือกิจกรรม ทั้งอบรมและดูงาน ไม่แปลกเลยสำหรับการยึดถือตัวตนในฐานะคนทำงานแม้รู้แก่ใจว่า สิ่งที่ประกอบให้เกิดกิจกรรมเพื่อสร้างสรรค์สังคมความคิดโดยอาศัยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้หลายๆคนที่มาฝึกอบรมให้การยอมรับ มุมมองของผู้ปฏิบัติต่อการปฏิบัติเป็นมิติที่ผู้ได้ปฏิบัติจริงเท่านั้นที่จะเข้าถึงได้
            บอกหลายครั้งหลายคราการเชื่อมต่อระหว่างการทำงานให้มีการสืบทอดสิ่งดีที่ก่อนเก่าเขาทำมา และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆให้เหมาะแก่การนั้นๆ ตอนผมมาอยู่ก็ได้เห็นการผลัดใบของวิทยากรรุ่นเก่าๆ หลายคนซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดา รุ่นเก่าไปรุ่นใหม่มาจากรุ่นสู่รุ่น แต่สิ่งที่ปฏิบัติกันมาคือการรู้จักเคารพเชื่อฟัง ระบบองค์กรที่อยู่รวมกันด้วยความต่างวัย ต่างภาษา ต่างจังหวัด มันมีองค์ประกอบทำให้เกิดจริยะธรรมในการอยู่ร่วมกัน
            ป้ายไวนิลต่างๆที่ติดทั่วบริเวณหมายให้ผู้พบเห็นได้มองได้คิดได้พิจารณา แต่ถ้าผู้ทำงาน ณ จุดนี้ เพียงรู้แต่มิได้นำมาปฏิบัติจริงแก่ตนเองแล้วนั้นไม่ต่างอะไรกับระเบิดที่วางอยู่รอบตัว
            ฑิฐิสามัญตา กฎแห่งความคิดคือสิ่งที่ทุกคนต้องจดจำให้ขึ้นใจ การประสานเซียนคือขุมพลังแห่งศาสตร์นั้นๆ ต้องนำมาปฏิบัติ
            เวลาเดินผ่านพระฉายาลักษณ์ที่ประดิษฐ์สถานในห้องอบรม ให้มองดูแล้วถามตัวเองซักทีเถิดว่าเรามาทำอะไรกัน ประโยคที่ถามวิทยากรรุ่นนึ่งมาแล้ว และฝากคำถามนี้แก่รุ่นต่อไป  

วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554

อาลัยลุงธง

เอกต้องขอกราบขอโทษลุงธงและครอบครัว ตลอดจนพี่ๆ วิทยากรแห่งศูนย์กสิกรรมธรรมชาติสองสลึง ทุกท่านด้วย ผมคงไม่ได้มีโอกาสไปคารวะลุงธงในครั้งสุดท้าย เสียใจก็เสีย แต่วิถีทางแห่งปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแล้วนั้น ผมมิอาจยิบยืมเงินจากผู้อื่นได้ ในการเดินทางไปเพื่อครั้งนี้ทั้งที่ใจจริงอยากทำอย่างนั้นแทบใจจะขาด แต่ด้วยการก้าวเดินจากไม่มีทุนเลยตอนนี้มีแค่ ประทังชีวิตและครอบครัว ไม่ถึงขั้นเหลือเก็บ ทุกย่างก้าวจึงเต็มไปด้วยภาระที่มีอยู่ การจากไปครั้งนี้ของลุงธง ผู้ซึ่งนั่งเชื่อมหลังคาให้ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ สองสลึง ผู้ที่เอื้ออำนวยเครื่องไม้เครื่องมือในบางครั้งให้แก่ศูนย์สองสลึง ผู้ที่ให้บริการต่างๆ แก่บุคลากรสองสลึง ผู้ที่เป็นพื้นที่หลบ ที่พักอาศัยแก่วิทยากรสองสลึงในบ้างครั้ง สถานที่ ที่เป็นเครื่องมื่อประสานความเข้าใจให้แกหลายๆคนในหลายๆโอกาสสำหรับเหล่าวิทยากรของสองสลึง ผมจำท่าเดิน รอยยิ้ม ของลุงธงได้เสมอ



ลุงธงครับ เอกขอโทษ ที่ไม่ได้ไปร่วมในงานวาระสุดท้ายในครั้งนี้ แต่ภาพของลุงธง ทุกกริยาบทของลุงธงยังอยู่ในจิตใจผมเสมอ “นายมาคราวนี้คงหนักใจ เราว่านายต้องหนักใจมากกว่าเก่า” คงเป็นประโยคสุดท้ายที่ลุงธงบอกถึงความเป็นห่วงตัวผมเอง ซึ่งผมก็ได้บอกแกลุงธงว่า ไม่ต้องหนักใจอะไร มีงานก็ทำ มีเรื่องคุยก็คุย ไม่เห็นมีอะไร แล้วเราก็นั่งคุยกันไปเรื่อยๆ


ผมเสียดายที่ไม่ได้ถ่ายรูปคู่กับลุงธงเลย และอีกหลายๆคน ที่ไม่เคยถ่ายรูปคู่ไว้ดู อาจเป็นเพราะนิสัยช่างกล้อง จึงอายกล้องเสมอๆ แต่ไม่เป็นไร เพราะช่างกล้องคนนี้ มันมีการบันทึกที่ดี(เมมโมรี่ดี) จำภาพจำเหตุการณ์ จำคำพูด คำสอน คนได้เยอะเว้นแต่ คำด่า คำสบประณาม ซึ่งไร้สาระ มิควรจำ เพราะไม่ใช่เป็นการติเพื่อก่อ อันนี้ไม่ต้องจำ


ลุงธงครับ ผมขอแสดงความรัก ความกญัญู ด้วยการนำคลิปวีดีโอนี้ออกมาเพื่อให้หลายคนได้รู้จักและ อีกหลายๆคนที่รู้จักลุงธงแล้วได้ดูกันครับ


มันคงเป็นสิ่งสุดท้ายที่ผมจะแสดงความมีกตัญญกตเวที แม้มิได้ไปร่วมงานในครั้งนี้
ข้าขอเทพเทวดาฟ้าดิน ลูกผู้มีความระลึกถึงผู้มีพระคุณ ขอส่งความระลึกถึงครั้งนี้ แด่ดวงวิญญาณลุงธงผู้ล่วงลับ ให้ไปสู่สุคติอันเป็นผลของบุญที่แกได้กระทำมาด้วยเถิด หากผลบุญส่วนหนึ่งส่วนใดทีข้าพเจ้ากระทำด้วยความเพียรอันบริสุทธ์แล้ว ขอผลบุญนั้นจงไปถึงแก่ลุงธงผู้ซึ่งเกิดเกื้อหนุนจุนเจือข้ามาด้วย เถิด   
รักเคารพลุงธงเสมอ เอกศิษย์สองสลึง

วันพุธที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ส่งท้ายปีเก่า

ไม่มีคำบรรยายใดๆ แค่เอางานที่ทำๆมาในด้านสื่อออกมาให้ชมกัน









วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เปลี่ยนประเทศไทย

ไปเว็บหลักมาสองสามกระทู้ แต่ก็อะไรลึกๆไม่ได้มาก แต่มีความน่ายินดีเกิดขึ้นหลายอย่างด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการประสานงานกัน และการจัดวางคนให้การทำงานให้มีทีมหลักทีมเสริม ซึ่งจะทำให้องค์กรเข้มแข็งขึ้นเยอะ
สำหรับผู้ติดตามบล็อกนี้
๑.สำหรับผู้ที่รู้จักผม ผมเคยให้สัญญากับผู้ใหญ่และหลายๆคนในศูนย์ว่าจะไม่ดันบล็อกนี้ขึ้นไปติดกับเว็บหลัก แต่เช็กดูแล้วน่าจะขึ้นไปติด อันนี้ต้องขออภัยเป็นอย่างสูงเพราะอยู่เหนือการควบคุมของผมมันเป็นที่ระบบ
๒.สำหรับผู้ที่ไม่รู้จักผม ผมก็แค่คนหนึ่งที่ได้ร่วมงานกับที่นี้มา และเป็นคนแรกในการผลักดันเรื่องสื่อต่างๆ ของศูนย์ตลอดจนเริ่มทำเว็บไซค์ให้กับศูนย์  ดังนั้นบล๊อกนี้ผมจึงมีเอกภาพอย่างสูงในการสื่อออกไป ในความคิดของผมเอง
ไปฝากลิงค์ Youtueb รายการเปลี่ยนประเทศไทย ที่เว็บหลัก ทำยังไงยังไงก็ไม่ขึ้น ก็เอามาตรงนี้ล่ะกันจะได้ชมๆกันให้ทั่วๆ


ตูว่าแล้วเจ้าเอกต้องทำงาน














..อะโหล พี่เอก พี่ดุ๋ยแซวใหญ่แล้ว......
ที่ตรงนี้ดีมากน่ะ หมายถึงศูนย์สองสลึงเพราะอะไรก็เป็นจริงจับต้องผัสผัสได้ แต่ก็ต้องยอมรับครับว่า ผู้ใหญ่แกทุ่มเททั้งแรงกายและแรงใจ แต่ก็อย่างว่า พอตนเองถูกจัดวางไว้สูง จะชี้ชัดอะไรไม่ได้มาก เรียกว่า “กลืนไม่เข้าคายไม่ออก” ผมเองขับรถให้แกกว่า พันๆ กิโล ที่แกไปโน่นมานี้ กินข้าวก็โต๊ะเดียวกัน ไม่ซักครั้งที่ผู้ใหญ่ให้ผมแยกโต๊ะไปนั่งที่อื่น แม้กะทั้งแกคุยธุระกับหลายๆคน แต่วิจารณญาณผมก็มีพอ ที่จะเลี่ยงออกไปจากวงสนทนาได้ เพราะไม่ชอบรู้เรื่องคนอื่นๆ สักเท่าไรนัก มีพี่ๆหลายคนทั้งในศูนย์และเครือข่ายถามว่า “พี่เอกไม่อยู่ช่วยผู้ใหญ่แล้วหรือ” ก็ตอบไปว่าอยู่ แต่หมดหน้าที่


คำว่าหน้าที่นี้แหล่ะครับ ที่ต้องดูกันให้ดี ดูกันให้ลึกซึ้ง หรือ พูดง่ายๆ ฟังยากหน่อยก็คือ “เป็นให้เป็น” ของอ.ยุทธอีกนั้นล่ะครับ ตอนคุมสื่ออยู่ รุ่นไหนอ.ยุทธลืม ประโยคเป็นให้เป็น ก็จะกระซิบแกประจำ จนมีครั้งหนึ่ง แกบอกว่า “ไม่ลืมหรอกแต่จะเก็บไว้ตอนท้ายสุด เอ๊อ ไอ้เอกนี่มันเป็น มันรู้จักทัก ว่างๆไปเป็นจิ๊งจกบางน่ะ คนเราถ้าทักคนอื่นมันไม่เชื่อแต่จิ๊งจกทักดันไปเชื่อฮิ”

วันนี้หน้าที่ตรงสองสลึงหมดไป แต่สื่อก็ทำให้อยู่ (ห่างๆ) ไม่อะไรที่ต้องใช้ ไม่อะไรที่รีบด่วนก็ไม่ทำ หลายคนโทรมาคุยเรื่องเว็บอยู่เหมือนกัน แต่ให้เวลาและความเป็นจริงเป็นเครื่องตัดสินเถอะครับ ถามว่าให้ผมทำเหมือนเมื่อก่อนจะดีไหม ? ก็ไม่ครับ มันต่างกรรมต่างวาระ ผมไม่ได้อยู่ที่ศูนย์แล้วหน้างานเป็นอย่างไร ผมสื่อออกไปไม่ได้มากไม่ทำเสียดีกว่า เพราะมันคือเว็บหลัก ที่จะต้องแสดงความเป็นตัวตนของสองสลึง โดยหน้าที่ของสื่อที่ทำต้องขุดหามันให้เจอะ

ผิดกับเวทีตรงนี้ แสดงความรู้สึกนึกคิดได้ผู้ใหญ่มิได้ห้ามเรื่องการนำเสนอใด ๆ เว้นแต่ การใช้วาจาที่คมจนไปเชือดเฉือนใจคนอื่นๆกันก็เท่านั้นเอง นั้นคือ “เอกเบาๆหน่อย”ที่ผู้ใหญ่เตือนเสมอมา แต่ก็อยากจะถามคนรอบข้างที่อยู่กับผู้ใหญ่มานานกว่า ๒๐ ปี ว่า แล้วตอนที่ผู้ใหญ่อายุเท่าผมในตอนนี้เป็นอย่างไร มันกงกรรมกงเกวียนใครก็ของคนนั้นเถอะครับ ปาปบุญของใครของมัน

ในวันนี้ก็นิดๆหน่อยๆพอสังเขปก่อน ส่วนอื่นๆก็จะตามมา ฝากข้อคิดสำหรับผู้เข้ามาอ่านเยี่ยมชมบล็อกนี้น่ะครับว่า สมัยนี้การสื่อสารเป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับชีวิตของเรามาก การรับข้อมูลข่าวสารก็เช่นเดียวกัน ผู้เขียนเองมีความเคารพรักและจงรักษ์ภักดีต่อศูนย์กสิกรรมธรรมชาติสองสลึงแห่งนี้เสมอ มีอีกหลายมุมมองครับที่พื้นที่แห่งนี้สามารถจะสร้างสังคมใหม่ที่เป็นมาอยู่เดิมของบรรพบุรุษไทย ให้ลูกหลานสืบต่อไปในวัฒนกรรมที่เปลี่ยนแปลงเข้ามาตลอดเวลา เราศูนย์กสิกรรมธรรมชาติสองสลึง รับมือได้ไม่เคยหยุดนิ่งต่อการเปลี่ยนแปลงตามวันเวลา

วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553

ระบายบ้างน่ะ

บล็อกนี้ ทำมาเพราะเบื่อจริงๆ เบี่อในเห็นการเสแสร้งแกล้งทำ ของเพื่อนร่วมแผ่นดินเดียวกัน ไม่ใช่พูดถึงศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ ตำบลสองสึง อ.แกลง จ.ระยอง น่ะครับ แต่จากทั้งหลายพื้นที่ในประเทศไทยของเราทุกคนนี้ล่ะครับ
แต่ต้องโหนที่นี้ไว้ เพราะเป็นที่ที่บอกผมว่าถ้าเราไม่นำ กสิกรรม นำเกษตรกรรม บนอู่ข้าวอู่น้ำแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง พื้นนี้ไว้แล้ว จะเป็นอย่างไร บอกผู้ใหญ่ว่าผมทำอินเตอร์เน็ตอีกตัวหนึ่งน่ะ บอก อ.ยุทธ์ ว่าทำบล็อกอีกตัวหนึ่งน่ะ ทำด้วยคำว่าจิตอาสา แต่เขียนเนื้อหาด้วยจิตสำนึก และบอกครูที่สอนผมในนามวิทยากรหลายท่านว่า ขอทำหน้าที่ ที่คนอื่นๆ คิดว่าเราทำได้ ตามความประสงค์แห่งสัจจะธรรมเถิดน่ะ ไม่ฆ่าน้อง ไม่ฟ้องนาย ตายแทนเพื่อน นั้นคือความนอกรีตของผม ผมรับคำสั่งแต่ จะทำหรือไม่ ถ้าผลเสียมันตกไปอยู่ที่อนาคตของความเป็นไทย ตายไปก็แค่ตายปล่าว จึุงเป็นที่มาของ Email:chuchat2499@gmail.com ตอนอยู่ในผ้าเหลือง ก็มีเรื่องร้อนๆไปเสมอๆ แต่เพราะศิล ทำให้เกิดสมาธิ สมาธิมาปัญญาจึงเกิด แต่ก็ต้องพอปัญญาเกิดก็เห็นแสงสว่าง บ้างครั้งที่ไปทำสื่อให้ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง แต่ละที่ ก็มีข้อคิดแต่ละเรื่อง แต่อาศัยยึดหลักคำสอนของผู้มีคุณุประการต่อแผ่นดินหลายๆท่าน แต่หลายท่านไม่ได้รับการเชิดชูเท่าที่ควร จึงเป็นที่มาของบล็อก "ปราชญ์แห่งสยามประเทศ" แต่ตอนนี้หยุดอยู่เพราะไม่แน่ใจอะไรบางอย่าง กับโจกท์ที่ตั้งไป แต่สักวันคงเจอะ
แวะไปเว็บ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ สองสลึง (ไอ้ที่ท่าน ๆ อ่านอยู่นี้เป็นเพียงบล็อก แต่จะทำให้เป็นเว็บบล็อกก็ได้ คงไม่ต้องอธิบายมากไม่เกี่ยวกันเท่าไร) ที่แวะไปก็ไปดูเยี่ยมชมให้กำลังใจกัน การจะเป็นสื่อกลางในขณะที่ตนเองอยู่ตรงนั้นด้วย เป็นอะไรที่ลำบากใจมากๆ เพราะเป็นการสื่อเรื่องราวของตนเอง แสดงภาพของตนเอง แต่ ณ ที่แห่งนี้เป็นการแสดงความรู้สึกนึกคิด ของผู้ทำเอง ในสายตาของผู้ทำเอง แต่ก็ยังอยู่ในความเหมาะสมที่จะทำได้
ศิษย์สองสลึง หมายถึง ผู้ที่ได้ร่ำเรียนมาจากสองสลึง มิได้หมายความว่าศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ ตำบลสองสลึง เพียงอย่างเดียว ยังมีอีกหลายคน หลายท่านที่ไม่ได้ทำงานที่นั้นโดยตรง แต่มาทำงานในพื้นที่ของตำบลสองสลึง และเคยเอื้อเฟื้อเกื้อกุลกันมา ในหลายๆกรรมหลายๆวาระ เอก.ศิษย์สองสลึง ที่จริงหลายๆคนในเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ เรียกพี่เอก แต่คนชื่อเอกซ้ำกัน สองเอก เอก เลยเป็นพี่เอกสองสลึง และผมก็ชอบตั้งแต่นั้นมา เพราะถ้ามีคนพูดถึงชื่อเรา เค้าจะเรียก เอกสองสลึง แต่สำหรับอีกเอก เขาเรียกว่า “พี่เอกเฉยๆ” แต่เอกนี้ไม่เฉยเพราะมีตั้งสองสลึง ถึงไม่เต็มแต่มี
ท่านผู้เข้ามาเยี่ยมชมครับ
คนที่เรียนหรืออบรมจากที่แล้วออกไปปฏิบัติ มีสองประเภทใหญ่ๆ ครับ
๑. เรียนจบไปแล้วนำไปปฏิบัติแก่ตนเองและครอบครัว
๒. เรียนจบแล้วทำให้ตนเองพออยู่ พอกิน พอใช้แล้ว ก็ไปเป็นแกนนำของชุมชน
ที่ กล่าวมานี้เพราะต้องการให้เข้าใจในแนวเดียวกันว่ามีลักษณะอย่างนี้ แต่สำหรับคนที่เป็นวิทยากรด้วยแล้วนั้นมันต้องไปอบรมอีกแบบหนึ่งครับ เรียกว่า "การอบรมวิทยากรกระบวนการ" ไม่ใช่อบรมหลักสูตรจากที่ศูนย์แล้วมาช่วยงาน หรือ มาทำงาน เลยกลายไปเป็นวิทยากรกับเค้า
ด้วย อันนี้ไม่ใช่ การจะเป็นวิทยากรต้องไปอบรมก่อนครับโดยที่ศูนย์เป็นผู้ส่งไป แล้วก็กลับมาเป็นวิทยากรประจำฐาน มันมีขั้นมีตอนของมันอยู่ ก็ขอเชิญชวนครับ ผมเองเข้าร่วม ๔ ครั้งในสองปี การอบรมวิทยากรกระบวนการนี้สนุกครับ คือเหล่าวิทยากรในแต่ละฐานการเรียนรู้จะมีเทคนิค วิธีการใหม่ๆ มาสาธิต และเรียนรู้ร่วมกัน นั้นคือเสน่ห์ของเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ ที่สามารถทำอะไรได้ชัดๆ เป็นลำดับต้นๆ ของประเทศ เหล่าวิทยากรกระบวนการนี้ล่ะครับเป็นการสอนต่อๆกันไปจากรุ่นสู่รุ่น จากพี่ถึงน้อง แต่มีหลายคนครับที่มั่วแต่ทำให้คนอื่นๆ แต่ไม่มีใครมองเห็นคุณุประการที่มีส่วนรวมในการขับเคลื่อนกระบวนการ พื้นที่เล็กๆ ตรงนี้ในโลกอินเตอร์เน็ตที่กว้างใหญ่ไพศาล คงเป็นได้แค่เศษแผ่นทองคำเปลวเล็กๆ ขาดๆ วิ้นๆ จะหลุดแล่ ไม่หลุดแล่ ที่ปิดอยู่หลังองค์พระปฏิมา แต่พวกเขาก็ไม่เสียดายชีวาถ้าสิ้นไป
ไม่พูดพร่ำทำเพลงแล้วเชิญพบกับป๋าอวบ วิทยากรรุ่นแรกๆ ของเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติครับ
ป๋าอวบ รู้จักมาตั้งนานชื่อจริงแกผมยังไม่เคยถามเลย
เจอะแกครั้งแรกตอนมาอบรม อยู่ที่ฐานหมูหลุม กับพี่ตุ้ม มีวีดีโอด้วยถ่ายเอง ตัดต่อเสร็จแล้ว แต่ไม่รู้ไปไหนหมดแล้ว ว่างๆจะหามาเพิ่มให้ครับ ท่านผู้นี้เป็นวิทยากรที่ผมพูดได้ว่าน่านับถือ เพราะคำตอบจากคำถามฟังง่ายฟังเข้าใจนำไปทดลองปฏิบัติได้จริงๆ ปัจจุบันสังกัดที่ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้องครับ 
ใครจำกันได้ก็ไปเยี่ยมกันบ้างน่ะครับ ถ้าหาไม่เจอะ ลองมองดูแถวๆแปลที่ผูกกับต้นไม้ครับ เผาถ่านก็สุดยอดอีกท่านหนึ่งเทคนิคใหม่ๆ ไม่ทราบ ถามแกแกก็บอกว่า "ก็ต้องลองดู ไม่ทำมันก็ไม่รู้ หน๊อ"

วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ผู้ใหญ่สมศักดิ์ เครือวัลย์


ผู้ชายร่างกำยำผิวคร้ำใส่หมวกคาบอย ดูท่าทางไม่น่าจะทักทายเท่าไร กับรถไถคันเก่าๆขี่ตรงเข้ามาที่ผมยืนคอยอยู่ ก่อนที่รู้จักที่นี้ก็ได้โทรมาคุยกับท่านผู้ใหญ่เรื่องที่ตั้งว่าศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ ตำบลสองสลึงตั้งอยู่ตรงไหนได้คำตอบอย่างนี้ครับ
“คุณมาวัดสองสลึงแล้วมองหาเมรุให้เจอ แล้วขี่ผ่านหน้าเมรุมาสัก กิโลกว่า ๆ ก็เจอ ถ้าคุณมาไม่เจอก็ขี่กลับไปที่เมรุก่อน แล้วเปิดประตูเหล็กเสร็จแล้วก็คุณกระโดนเข้่าไป แล้วตะโกนให้คนอยู่ข้างออกจุดไฟให้ที่ ฮึ ๆๆ” มีเสียงหัวเราะส่งท้าย


“คุณหาอะไรไม่เจอะหรอก จนกว่าคุณจะหาตัวเองเจอะ”
คำพูดเรียบๆที่ได้ยินบ่อยๆ กล่าวกับผู้เข้ารับการฝึกอบรม แต่ถ้าคิดแล้วก็ต้องคิดอีก

ดูๆในภาพเองครับ ผู้ให้เกียรติมาชมงานที่ศูนย์




ผมมองมุมไหนก็ไม่สวยกว่ามุมนี้ มุมที่ศูนย์แห่งนี้ให้รู้จัก รัก และ รักษ์ ในความเป็นไทย


"คน เราเกิดมาต้องรู้จักเป็นให้เป็น เราต้องรู้ว่าวันนี้เราเป็นใครอยู่ในฐานะอะไร ถ้าเป็นพ่อก็ต้องเป็นพ่อให้เป็น จะต้องดูแลคุ้มครองครอบครัวให้อยู่รอดปลอดภัย ถ้าวันนี้เราเป็นลูกก็ต้องเป็นลูกให้เป็น ต้องรู้จักเคารพเชื่อฟังพ่อแม่ ถ้าเรารู้จักอย่างนี้แล้วเขาเรียกว่าเป็นให้เป็น"

อีกหนึ่งท่านครับ อ.ยงยุทธ์ เสมอมิตร ผู้อำนวยการฝึกอบรม

บทความ

พื้นที่ตรงนี้ต้องอนุญาตทางวิทยากรของศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ ตำบลสองสลึง ทุกท่าน ผมเองในฐานะผู้ทำสื่อและกำลังจะได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้ทำสื่อของศูนย์แห่งนี้ จะได้นำเรื่องราวที่ประทับใจและแง่คิดในการทำงานที่ผู้อื่นเรียกว่า “จิตอาสา”

มาเล่ามุมมองต่างๆ และภาพในอดีตที่จัดเก็บไว้แบ่งปันกันไปเป็นเรื่องราวต่างๆ การเขียนแบบนี้คลายๆแบบบันทึกเหตุการณ์ต่างๆที่ได้เกิดขึ้น ตั้งแต่วันแรกที่ได้เข้ามามีส่วนรวมในการทำงานด้วยกัน จนกล้าพอที่จะตัดสินใจทิ้งธุรกิจที่วุ่นวาย กลับสู่บ้านเกิดเมืองนอนเพื่อตั้งหลักใหม่ หลักที่มั่นคงและยั่งยืน ศูนย์แห่งนี้สร้างแนวความคิดปรับเปลี่ยนความคิด เป็นที่แนะทางออกบอกทางแก้ ได้ทุกต้องและแม่นย้ำ จะฟันธงหรือคอนเฟริมเลยก็ได้ คงจะเปล่าดายถ้าไม่รับและนำมาปฏิบัติให้จริงจัง กระดุมเม็ดแรกคือความคิด ศูนย์แห่งนี้ได้ติดไปให้ศิษทุกรุ่นทุกคน ไม่เว้นแม้กระทั้งผู้มาดูงาน บ่อยครั้งที่มีคนกลับไปแล้วทำได้บ้างไม่ได้บ้าง ตลอดเวลาที่ผมทำหน้าที่วิทยากรที่ศูนย์ได้ยินได้ฟังจนขึ้นใจในหลายๆเรื่อง แต่ก็ไม่ได้ลงมือปฏิบัติอย่างจริงๆ จังๆ สักที แต่ยังดีที่มีคาถาที่จำได้ว่า “ทำทันที” ไอ้เพราะกลับมาทำทันทีนั้นแหล่ะครับ ๒ ปีกว่าๆ

ที่ไปๆมาๆ ระยอง สงขลา ระยะทางมันไกลภาระในการเดินทางก็มีมาก ลูกก็โตขึ้นทุกวัน การกลับมาตั้งหลักที่บ้านจึงเป็นโอกาสที่ดีทีสุด แต่สิ่งที่จะช่วยงานทางศูนย์ได้ก็คือได้นำเอาวิชาความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมาจากศูนย์สู่การปฏิบัติจริงจนสามารถขยายไปสู่ชุมชนได้ ที่ใช้คำว่า “ร่ำเรียน” เพราะผู้ใหญ่ อ.ยงยุทธ์ พี่ๆวิทยากรทุกคน ก็ได้พร่ำบอกพร่ำสอน จนเรียกได้ว่าสอนมากับมือเลยเป็นศิษสองสลึงที่พูดติดปากไปแล้ว

การนำภาพต่างๆที่ได้เก็บรวบรวมเอาไว้ ตั้งแต่วิทยากรรุ่นแรกๆ จนถึงปัจจุบันมาเล่าสู่กันฟังเป็นการแสดงต่อความรู้คุณของเหล่าวิทยากรที่ได้มีโอกาสสั่งสอน และทำงานรวมกัน มันเป็นภาพแห่งความสามัคคีปรองดอง แต่ด้วยภาระของแต่ละคนแตกต่างกันจึงต้องแยกย้ายกันไปบ้าง สิ่งที่เหลือไว้ก็แค่ภาพแห่งการร่วมกันทำความดีที่มีคุณุประการต่อสังคมในปัจจุบัน

เอก.ศิษสองสลึง

“เสียงห่าน เสียงนก ร้องเข้าหูตั้งแต่รถแลนเข้ามาในศูนย์แห่งนี้ ศูนย์ที่เป็นบ้านเกิดในชีวิตของวิทยกรเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ

ภาพผู้ใหญ่อยู่ในแปลงพืชสวนชินตาไปเสียแล้ว แต่สิ่งใหม่ๆที่เปลี่ยนไปเสมอคือผลิตผลต้นไม้ ความอุดมสมบูรณ์จนจะกลายเป็นป่าไม้ไปเสียแล้ว

“ที่เรียกเอกมาเพราะอยากจะให้ดูแปลงนี้ ใครเห็นแปลงนี้แล้วก็คิดออกเอง”

แปลงพืชที่เต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ ที่ทั้งพืชผัก และไม้ยืนต้น บ่อปลา และพลังงาน ก็ต้องยอมรับครับว่าผู้ใหญ่ต้องการจะพลักดันให้ผู้ที่มาฝึกอบรมที่นี้แล้วกลับไปสามารถพึ่งพาตนเองได้ พึ่งพาตนเองนี้คือให้เหมาะสมกับตนเอง ว่าตนเองทำอะไร และอะไรที่ตนถนัด แต่ในที่นี้พื้นที่ตรงนี้เป็นการพึ่งพาตนเองในภาคการเกษตร ก็ต้องทำสิ่งที่เป็นเกษตรให้ชัด

ผมเองก็ไม่มีความรู้ด้านเกษตรมาก่อน มารู้ก็ที่นี้เป็นที่แรก นึกถึงวันที่มาสมัครเรียนมาอบรม ผู้ใหญ่ก็เคยถามว่ามีที่ดินอยู่บางหรือป่าว ก็บอกว่ามี แกเลยบอกว่าเลี้ยงดินให้ดีให้มีกินก่อน แล้วอื่นๆตามมาเอง ผู้ใหญ่ก็ประสิทธิประศาสตร์วิชาให้ จนที่บ้านในปัจจุบันปลูกอะไรก็ขึ้น ปลูกอะไรก็ได้กิน แถมไม่ได้ปลูกแต่เกิดมาเองก็มี

ห้องสื่อที่ปฏิบัติงานก็เปลี่ยนสภาพไปตามวันเวลา มีเครื่องมือเครื่องไม้ดีขึ้นหมาะแก่การเรียนรู้ ตลอดถึงสื่อใหม่ๆก็ถูกวางไว้อย่างเป็นระบบ

พี่ตุ้มวิทยากรรุ่นพี่ หรือ จานตุ้ม “จาน” หรือ “อาจารย์” คำที่ผู้เข้ารับการอบรมเรียกพวกเรา แต่เราเองก็ได้ปรามกลับไปเสมอๆ ว่าให้เรียกพี่ เรียกน้อง เรียกลุง เรียกอา เถิดพวกเราแค่เป็นผู้แนะนำ มิใช่เป็นอาจารย์อย่างไร แต่ก็เปล่าประโยชน์ที่จะปรามผู้เข้ารับการอบรมเพราะบอกไปก็แค่นั้นเค้าก็ยังเรียกอยู่เหมือนเดิม

เคยคุยเรื่องนี้กับพี่นนท์อยู่ปรานบุรีไปทีหนึ่งแล้ว แต่การตอบกลับมาก็พี่แก ที่อายุมากกว่าเราซัก ๑๐ปี

“อย่างนี้เค้าไม่เรียกอาจารย์หรอกครูครับ ผมเรียกครูเลย การสอนสิ่งที่เราไม่รู้มาก่อนจนนำไปใช้จริงได้อย่างนี้ต้องเรียกครูแล้วครับ ครู”

คำนี้ต้องนึกถึงให้มาก และต้องมากในฐานะของวิทยากร ผู้ที่จะ บอก เล่า แสดง สาธิต ให้เห็นถึงวิชาที่จะถ่ายทอดกันไป ผมไม่เคยเห็นหรือได้ยินวิทยากรในศูนย์คนไหน แทนตนเองว่าครูหรืออาจารย์เลย มีเพียง คำว่า “ผม ลุง น้า”เท่านั้นที่ได้ยินเป็นประจำ

พี่ตุ้มแกนนำแห่งชุมชนบ้านน้ำเป็น อ.เขาชะเมา จ.ระยอง ผู้สำเร็จอีกหนึ่งในการเป็นแกนนำของชุมชน อีกยังผลิตมังคุดปลอดสารพิษส่งญีปุ่นอีก วันนี้ผู้ใหญ่เลยเรียกทั้งสองคนมาเป่ากระหม่อมกันใหม่อีกรอบ ตั้งแต่การปรับปรุงดิน การทำทางใส้ไก่ ให้น้ำผ่าน การปลูกหลัก ปลูกเสริม การจัดการน้ำ ฯลฯ สุดท้ายด้วยคาถา “ทำบ้านตัวเอง ให้เข้มแข็งก่อน ถ้าบ้านตัวเองไม่เข้มแข็ง ไปช่วยบ้านคนอื่น ก็พังทั้งสองบ้าน”

และเมื่อทั้งสองก็ได้แทนตัวเองในนามศิษสองสลึง โดยมีผู้ใหญ่สมศักดิ์ เครือวัลย์ ในอาจารย์คนเดียวกัน
จึงได้ตั้งสัจจะวาจา ที่หน้าป้ายศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ สองสลึง ต่อหน้าผู้ใหญ่สมศักดิ์ เครือวัลย์ ว่า "เราจะนำความรู้ที่ได้รับการสั่งสอนมาไปปฏิบัติจริง ตลอดจนขยายความรู้ที่ได้มาแก่ชุมชนของตนให้สามารถเข้าใจในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามความเหมาะสมแก่ชุมชนของตนเองต่อไป"

และแล้วก็เริ่มกันเลย
เริ่มก่อนน่ะพี่ตุ้ม มาชมแล้วก็ส่งรูปและรายละเอียดมาด้วย ผมเริ่มก่อนน่ะ
อดีต

เริ่มแล้ว

และถ้า "เลี้ยงดิน ให้ดินเลี้ยงพืช"ให้ภาพบรรยายแทน


บ้านผมไม่ปลูกเหมือนผู้ใหญ่ครับ แค่อะไรตกไปบนดิน ก็ขึ้นเองได้แล้ว

"ตาเอกมันจะโม้มากไปหรือป่าวฮิ"
(ลุงจ๊วน ผู้อวุโสสุดๆ ในศูนย์สองสลึง ท่านผู้นี้ครับที่ยกเก้าอี้และทำความสะอาดบริเวณที่อบรมที่คุณๆ มาใช้บริการกัน แก่มาก่อนทุกๆคนเสมอ บ้างครั้งผมเดินไปเดินมา แกยกเก้าอี้เสร็จหมดแล้ว ขอบุญบารมีที่แกได้มีจิตอาสาช่วยดลบันดาลให้แก่มีสุขภาพที่แข็งแรง ไร้โรคภัยไข้เจ็บ ด้วยเทอญ)

ชุมชนบ้านน้ำเป็น

ตำบลน้ำเป็นอยู่ในเขตการปกครองของ กิ่ง อ.เขาชะเมา มีจำนวนหมู่บ้านทั้งสิ้น7 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่1 บ้านสามแยก หมู่2 บ้านน้ำใส หมู่3 บ้านมาบช้างนอน หมู่4 บ้านเหมืองแร่ หมู่5 บ้านสำนักกะเบา หมู่6 บ้านน้ำเป็น หมู่7 บ้านคลองพระเจ้า

ศูนย์ รวมรวมการเรียนรู้ชุมชน ตำบลน้ำเป็น จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมข้อมูลให้กับคนในชุมชน และชุมชนใกล้เคียง ได้เข้ามาศึกษาและแลกเปลี่ยนข้อมูล โดยที่ทางศูนย์ฯ ได้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ การทำเกษตรอินทรีย์และภูมิปัญญาท้องถิ่นในตำบลน้ำเป็นไว้ในรูปแบบของหลัก สูตรต่างๆ

การทำเกษตรอินทรีย์

เกษตร อินทรีย์ คือ ระบบการเกษตรที่ผลิตอาหารและเส้นใยด้วยความยั่งยืนทั้งทางสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ โดยเน้นหลักที่การปรับปรุงบำรุงดิน การเคารพต่อศักยภาพทางธรรมชาติของพืช สัตว์ และนิเวศการเกษตร เกษตรอินทรีย์ลดการใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอก และหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ เช่น ปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ แต่ในขณะเดียวกัน เกษตรอินทรีย์พยายามประยุกต์กลไกและวัฎจักร ธรรมชาติในการเพิ่มผลผลิต และพัฒนาความต้านทานต่อโรคของพืช และสัตว์เลี้ยง หลักการเกษตรอินทรีย์นี้เป็นหลักการสากล ที่สอดคล้องกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคม ภูมิอากาศ และวัฒนธรรมของท้องถิ่นด้วย

ฐานพลิกแผ่นดิน

เป็นฐานที่ถ่ายทอดการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพและน้ำหมักชีวภาพ โดยใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ ทั้งพืช สัตว์ และมูลสัตว์

การเผาถ่าน

เป็น ฐานที่ถ่ายทอดเกี่ยวกับเทคนิคการเผาถ่าน และการเก็บน้ำส้มควันไม้ โดยการนำเอากิ่งไม้ที่ได้จากการตัดแต่งไม้ผลในสวนมาใช้ในการเผาถ่านเพื่อทำ เป็นถ่านเอนกประสงค์และใช้เป็นพลังงานทดแทนในครัวเรือน และนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ในการเกษตร

การเลี้ยงหมูหลุม

ฐานนี้สอนเกี่ยวกับการเลี้ยงหมูพื้นบ้าน เพื่อนำมูลที่ได้ ไปใช้ในการปรับปรุงบำรุงดิน และต้นไม้ในสวน

วิถีพอเพียง

จะทำอะไรก็ตาม ให้เหมาะสมตามกำลังของตนเองคือ รูปแบบหรือแนวทางในการดำเนินชีวิตโดยน้อมเอาพระราชดำรัสแนวคิดเศรษฐกิจพอ เพียง มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และสภาพสังคม ชุมชนของตนเอง

ฐานน้ำยาเอนกประสงค์

เป็น ฐานที่ถ่ายทอดเทคนิคการทำน้ำยาเอนกประสงค์ต่างๆ เพื่อใช้เป็นเครื่องอุปโภค เพื่อลดต้นทุนการใช้จ่ายในครัวเรือน เช่น น้ำยาล้างจาน แชมพู สบู่ ครีมอาบน้ำ เป็นต้น

การทำน้ำมันมะพร้าว

ถ่าย ทอดเทคนิคการนำเอามะพร้าวที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาเพิ่มค่าเพื่อให้เกิด ประโยชน์สูงสุด และใช้เป็นเครื่องอุปโภคบริโภค ในชีวิตประจำวัน

ฐานยาหลังบ้าน

เป็นฐานที่สอนให้รู้ประโยชน์และเทคนิคในการปลูกพืชผักสวนครัว และพืชสมุนไพรต่างๆ ที่มีประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

คือ มรดกทางวัฒนธรรมอันเกิดจากการพัฒนา การปรับตัว ปรับวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ หรือคนต่างถิ่นที่พกพามาจากแหล่งอารยธรรมต่างๆ จนหลอมรวมกัน เกิดเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น

อาหารพื้นบ้าน

คือ ฐานที่ถ่ายทอดเทคนิคเกี่ยวกับวิธีการถนอมอาหาร ในรูปแบบการปรุงอาหาร เป็นการเพิ่มรสชาติและคุณค่าของอาหารในแต่ละมื้อ เช่น ปลาต้มหวาน หมูชะมวง ผักน้ำพริก กะบก เป็นต้น

เครื่องจักสาน

การรวบรวมเอาภูมิปัญญาท้องถิ่น เกี่ยวกับการแปรรูปพืชที่มีอยู่ในพื้นที่ มาเป็นเครื่องใช้ไม้สอยในครัวเรือน
ที่มาของข้อมูล: สถาบันการจัดการทางสังคม ภาคกลาง

ภาพยังไม่มี พี่ตุ้มส่งมาด่วนด้วยขอรับ