วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

จากรุ่นสู่รุ่น



          เพื่อนพองน้องพี่ที่รักครับเอกคงจะวางมืออย่างเป็นทางการเสียที สำหรับการปฏิบัติหน้าที่ตรงนี้ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาก็ได้ทำหน้าที่อย่างสุดความสามารถแล้ว การทำงานในระบบจิตอาสานั้นสิ่งที่ได้สูงสุดคือความยินดีที่ได้ทำแค่นั้นเอง ผมว่าทุกๆท่านเคยผ่านการเรียนหรือการทำงานในแบบรุ่นสู่รุ่นมาด้วยกันทั้งนั้น ในระบบการเรียนก็มีรุ่นพี่รุ่นน้อง ที่เป็นทหารตำรวจอันนี้จะเข้าใจระบบรุ่นมากหน่อย ในฐานะผู้ริเริ่มทำสื่อให้กับศูนย์งานที่ทำขั้นพื้นฐานได้เสร็จลุล่วงไปนานแล้ว การประคับประคองก็ผ่านมาด้วยดี จึงพูดได้เต็มปากว่างานที่ทำเสร็จทั้งหมดแล้ว
            โอกาสสุดท้ายที่ไปเยี่ยมศูนย์เมื่อ พ.ค.๕๓ ก็ได้เห็นความเปลี่ยนแปลงในหลายๆด้าน ทั้งรูปแบบ ความคิด และจิตวิณญาณ มีเหลือไว้ที่เหมือนเดิมก็คือกิจกรรม ทั้งอบรมและดูงาน ไม่แปลกเลยสำหรับการยึดถือตัวตนในฐานะคนทำงานแม้รู้แก่ใจว่า สิ่งที่ประกอบให้เกิดกิจกรรมเพื่อสร้างสรรค์สังคมความคิดโดยอาศัยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้หลายๆคนที่มาฝึกอบรมให้การยอมรับ มุมมองของผู้ปฏิบัติต่อการปฏิบัติเป็นมิติที่ผู้ได้ปฏิบัติจริงเท่านั้นที่จะเข้าถึงได้
            บอกหลายครั้งหลายคราการเชื่อมต่อระหว่างการทำงานให้มีการสืบทอดสิ่งดีที่ก่อนเก่าเขาทำมา และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆให้เหมาะแก่การนั้นๆ ตอนผมมาอยู่ก็ได้เห็นการผลัดใบของวิทยากรรุ่นเก่าๆ หลายคนซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดา รุ่นเก่าไปรุ่นใหม่มาจากรุ่นสู่รุ่น แต่สิ่งที่ปฏิบัติกันมาคือการรู้จักเคารพเชื่อฟัง ระบบองค์กรที่อยู่รวมกันด้วยความต่างวัย ต่างภาษา ต่างจังหวัด มันมีองค์ประกอบทำให้เกิดจริยะธรรมในการอยู่ร่วมกัน
            ป้ายไวนิลต่างๆที่ติดทั่วบริเวณหมายให้ผู้พบเห็นได้มองได้คิดได้พิจารณา แต่ถ้าผู้ทำงาน ณ จุดนี้ เพียงรู้แต่มิได้นำมาปฏิบัติจริงแก่ตนเองแล้วนั้นไม่ต่างอะไรกับระเบิดที่วางอยู่รอบตัว
            ฑิฐิสามัญตา กฎแห่งความคิดคือสิ่งที่ทุกคนต้องจดจำให้ขึ้นใจ การประสานเซียนคือขุมพลังแห่งศาสตร์นั้นๆ ต้องนำมาปฏิบัติ
            เวลาเดินผ่านพระฉายาลักษณ์ที่ประดิษฐ์สถานในห้องอบรม ให้มองดูแล้วถามตัวเองซักทีเถิดว่าเรามาทำอะไรกัน ประโยคที่ถามวิทยากรรุ่นนึ่งมาแล้ว และฝากคำถามนี้แก่รุ่นต่อไป  

วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554

อาลัยลุงธง

เอกต้องขอกราบขอโทษลุงธงและครอบครัว ตลอดจนพี่ๆ วิทยากรแห่งศูนย์กสิกรรมธรรมชาติสองสลึง ทุกท่านด้วย ผมคงไม่ได้มีโอกาสไปคารวะลุงธงในครั้งสุดท้าย เสียใจก็เสีย แต่วิถีทางแห่งปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแล้วนั้น ผมมิอาจยิบยืมเงินจากผู้อื่นได้ ในการเดินทางไปเพื่อครั้งนี้ทั้งที่ใจจริงอยากทำอย่างนั้นแทบใจจะขาด แต่ด้วยการก้าวเดินจากไม่มีทุนเลยตอนนี้มีแค่ ประทังชีวิตและครอบครัว ไม่ถึงขั้นเหลือเก็บ ทุกย่างก้าวจึงเต็มไปด้วยภาระที่มีอยู่ การจากไปครั้งนี้ของลุงธง ผู้ซึ่งนั่งเชื่อมหลังคาให้ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ สองสลึง ผู้ที่เอื้ออำนวยเครื่องไม้เครื่องมือในบางครั้งให้แก่ศูนย์สองสลึง ผู้ที่ให้บริการต่างๆ แก่บุคลากรสองสลึง ผู้ที่เป็นพื้นที่หลบ ที่พักอาศัยแก่วิทยากรสองสลึงในบ้างครั้ง สถานที่ ที่เป็นเครื่องมื่อประสานความเข้าใจให้แกหลายๆคนในหลายๆโอกาสสำหรับเหล่าวิทยากรของสองสลึง ผมจำท่าเดิน รอยยิ้ม ของลุงธงได้เสมอ



ลุงธงครับ เอกขอโทษ ที่ไม่ได้ไปร่วมในงานวาระสุดท้ายในครั้งนี้ แต่ภาพของลุงธง ทุกกริยาบทของลุงธงยังอยู่ในจิตใจผมเสมอ “นายมาคราวนี้คงหนักใจ เราว่านายต้องหนักใจมากกว่าเก่า” คงเป็นประโยคสุดท้ายที่ลุงธงบอกถึงความเป็นห่วงตัวผมเอง ซึ่งผมก็ได้บอกแกลุงธงว่า ไม่ต้องหนักใจอะไร มีงานก็ทำ มีเรื่องคุยก็คุย ไม่เห็นมีอะไร แล้วเราก็นั่งคุยกันไปเรื่อยๆ


ผมเสียดายที่ไม่ได้ถ่ายรูปคู่กับลุงธงเลย และอีกหลายๆคน ที่ไม่เคยถ่ายรูปคู่ไว้ดู อาจเป็นเพราะนิสัยช่างกล้อง จึงอายกล้องเสมอๆ แต่ไม่เป็นไร เพราะช่างกล้องคนนี้ มันมีการบันทึกที่ดี(เมมโมรี่ดี) จำภาพจำเหตุการณ์ จำคำพูด คำสอน คนได้เยอะเว้นแต่ คำด่า คำสบประณาม ซึ่งไร้สาระ มิควรจำ เพราะไม่ใช่เป็นการติเพื่อก่อ อันนี้ไม่ต้องจำ


ลุงธงครับ ผมขอแสดงความรัก ความกญัญู ด้วยการนำคลิปวีดีโอนี้ออกมาเพื่อให้หลายคนได้รู้จักและ อีกหลายๆคนที่รู้จักลุงธงแล้วได้ดูกันครับ


มันคงเป็นสิ่งสุดท้ายที่ผมจะแสดงความมีกตัญญกตเวที แม้มิได้ไปร่วมงานในครั้งนี้
ข้าขอเทพเทวดาฟ้าดิน ลูกผู้มีความระลึกถึงผู้มีพระคุณ ขอส่งความระลึกถึงครั้งนี้ แด่ดวงวิญญาณลุงธงผู้ล่วงลับ ให้ไปสู่สุคติอันเป็นผลของบุญที่แกได้กระทำมาด้วยเถิด หากผลบุญส่วนหนึ่งส่วนใดทีข้าพเจ้ากระทำด้วยความเพียรอันบริสุทธ์แล้ว ขอผลบุญนั้นจงไปถึงแก่ลุงธงผู้ซึ่งเกิดเกื้อหนุนจุนเจือข้ามาด้วย เถิด   
รักเคารพลุงธงเสมอ เอกศิษย์สองสลึง