วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ผู้ใหญ่สมศักดิ์ เครือวัลย์


ผู้ชายร่างกำยำผิวคร้ำใส่หมวกคาบอย ดูท่าทางไม่น่าจะทักทายเท่าไร กับรถไถคันเก่าๆขี่ตรงเข้ามาที่ผมยืนคอยอยู่ ก่อนที่รู้จักที่นี้ก็ได้โทรมาคุยกับท่านผู้ใหญ่เรื่องที่ตั้งว่าศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ ตำบลสองสลึงตั้งอยู่ตรงไหนได้คำตอบอย่างนี้ครับ
“คุณมาวัดสองสลึงแล้วมองหาเมรุให้เจอ แล้วขี่ผ่านหน้าเมรุมาสัก กิโลกว่า ๆ ก็เจอ ถ้าคุณมาไม่เจอก็ขี่กลับไปที่เมรุก่อน แล้วเปิดประตูเหล็กเสร็จแล้วก็คุณกระโดนเข้่าไป แล้วตะโกนให้คนอยู่ข้างออกจุดไฟให้ที่ ฮึ ๆๆ” มีเสียงหัวเราะส่งท้าย


“คุณหาอะไรไม่เจอะหรอก จนกว่าคุณจะหาตัวเองเจอะ”
คำพูดเรียบๆที่ได้ยินบ่อยๆ กล่าวกับผู้เข้ารับการฝึกอบรม แต่ถ้าคิดแล้วก็ต้องคิดอีก

ดูๆในภาพเองครับ ผู้ให้เกียรติมาชมงานที่ศูนย์




ผมมองมุมไหนก็ไม่สวยกว่ามุมนี้ มุมที่ศูนย์แห่งนี้ให้รู้จัก รัก และ รักษ์ ในความเป็นไทย


"คน เราเกิดมาต้องรู้จักเป็นให้เป็น เราต้องรู้ว่าวันนี้เราเป็นใครอยู่ในฐานะอะไร ถ้าเป็นพ่อก็ต้องเป็นพ่อให้เป็น จะต้องดูแลคุ้มครองครอบครัวให้อยู่รอดปลอดภัย ถ้าวันนี้เราเป็นลูกก็ต้องเป็นลูกให้เป็น ต้องรู้จักเคารพเชื่อฟังพ่อแม่ ถ้าเรารู้จักอย่างนี้แล้วเขาเรียกว่าเป็นให้เป็น"

อีกหนึ่งท่านครับ อ.ยงยุทธ์ เสมอมิตร ผู้อำนวยการฝึกอบรม

บทความ

พื้นที่ตรงนี้ต้องอนุญาตทางวิทยากรของศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ ตำบลสองสลึง ทุกท่าน ผมเองในฐานะผู้ทำสื่อและกำลังจะได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้ทำสื่อของศูนย์แห่งนี้ จะได้นำเรื่องราวที่ประทับใจและแง่คิดในการทำงานที่ผู้อื่นเรียกว่า “จิตอาสา”

มาเล่ามุมมองต่างๆ และภาพในอดีตที่จัดเก็บไว้แบ่งปันกันไปเป็นเรื่องราวต่างๆ การเขียนแบบนี้คลายๆแบบบันทึกเหตุการณ์ต่างๆที่ได้เกิดขึ้น ตั้งแต่วันแรกที่ได้เข้ามามีส่วนรวมในการทำงานด้วยกัน จนกล้าพอที่จะตัดสินใจทิ้งธุรกิจที่วุ่นวาย กลับสู่บ้านเกิดเมืองนอนเพื่อตั้งหลักใหม่ หลักที่มั่นคงและยั่งยืน ศูนย์แห่งนี้สร้างแนวความคิดปรับเปลี่ยนความคิด เป็นที่แนะทางออกบอกทางแก้ ได้ทุกต้องและแม่นย้ำ จะฟันธงหรือคอนเฟริมเลยก็ได้ คงจะเปล่าดายถ้าไม่รับและนำมาปฏิบัติให้จริงจัง กระดุมเม็ดแรกคือความคิด ศูนย์แห่งนี้ได้ติดไปให้ศิษทุกรุ่นทุกคน ไม่เว้นแม้กระทั้งผู้มาดูงาน บ่อยครั้งที่มีคนกลับไปแล้วทำได้บ้างไม่ได้บ้าง ตลอดเวลาที่ผมทำหน้าที่วิทยากรที่ศูนย์ได้ยินได้ฟังจนขึ้นใจในหลายๆเรื่อง แต่ก็ไม่ได้ลงมือปฏิบัติอย่างจริงๆ จังๆ สักที แต่ยังดีที่มีคาถาที่จำได้ว่า “ทำทันที” ไอ้เพราะกลับมาทำทันทีนั้นแหล่ะครับ ๒ ปีกว่าๆ

ที่ไปๆมาๆ ระยอง สงขลา ระยะทางมันไกลภาระในการเดินทางก็มีมาก ลูกก็โตขึ้นทุกวัน การกลับมาตั้งหลักที่บ้านจึงเป็นโอกาสที่ดีทีสุด แต่สิ่งที่จะช่วยงานทางศูนย์ได้ก็คือได้นำเอาวิชาความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมาจากศูนย์สู่การปฏิบัติจริงจนสามารถขยายไปสู่ชุมชนได้ ที่ใช้คำว่า “ร่ำเรียน” เพราะผู้ใหญ่ อ.ยงยุทธ์ พี่ๆวิทยากรทุกคน ก็ได้พร่ำบอกพร่ำสอน จนเรียกได้ว่าสอนมากับมือเลยเป็นศิษสองสลึงที่พูดติดปากไปแล้ว

การนำภาพต่างๆที่ได้เก็บรวบรวมเอาไว้ ตั้งแต่วิทยากรรุ่นแรกๆ จนถึงปัจจุบันมาเล่าสู่กันฟังเป็นการแสดงต่อความรู้คุณของเหล่าวิทยากรที่ได้มีโอกาสสั่งสอน และทำงานรวมกัน มันเป็นภาพแห่งความสามัคคีปรองดอง แต่ด้วยภาระของแต่ละคนแตกต่างกันจึงต้องแยกย้ายกันไปบ้าง สิ่งที่เหลือไว้ก็แค่ภาพแห่งการร่วมกันทำความดีที่มีคุณุประการต่อสังคมในปัจจุบัน

เอก.ศิษสองสลึง

“เสียงห่าน เสียงนก ร้องเข้าหูตั้งแต่รถแลนเข้ามาในศูนย์แห่งนี้ ศูนย์ที่เป็นบ้านเกิดในชีวิตของวิทยกรเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ

ภาพผู้ใหญ่อยู่ในแปลงพืชสวนชินตาไปเสียแล้ว แต่สิ่งใหม่ๆที่เปลี่ยนไปเสมอคือผลิตผลต้นไม้ ความอุดมสมบูรณ์จนจะกลายเป็นป่าไม้ไปเสียแล้ว

“ที่เรียกเอกมาเพราะอยากจะให้ดูแปลงนี้ ใครเห็นแปลงนี้แล้วก็คิดออกเอง”

แปลงพืชที่เต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ ที่ทั้งพืชผัก และไม้ยืนต้น บ่อปลา และพลังงาน ก็ต้องยอมรับครับว่าผู้ใหญ่ต้องการจะพลักดันให้ผู้ที่มาฝึกอบรมที่นี้แล้วกลับไปสามารถพึ่งพาตนเองได้ พึ่งพาตนเองนี้คือให้เหมาะสมกับตนเอง ว่าตนเองทำอะไร และอะไรที่ตนถนัด แต่ในที่นี้พื้นที่ตรงนี้เป็นการพึ่งพาตนเองในภาคการเกษตร ก็ต้องทำสิ่งที่เป็นเกษตรให้ชัด

ผมเองก็ไม่มีความรู้ด้านเกษตรมาก่อน มารู้ก็ที่นี้เป็นที่แรก นึกถึงวันที่มาสมัครเรียนมาอบรม ผู้ใหญ่ก็เคยถามว่ามีที่ดินอยู่บางหรือป่าว ก็บอกว่ามี แกเลยบอกว่าเลี้ยงดินให้ดีให้มีกินก่อน แล้วอื่นๆตามมาเอง ผู้ใหญ่ก็ประสิทธิประศาสตร์วิชาให้ จนที่บ้านในปัจจุบันปลูกอะไรก็ขึ้น ปลูกอะไรก็ได้กิน แถมไม่ได้ปลูกแต่เกิดมาเองก็มี

ห้องสื่อที่ปฏิบัติงานก็เปลี่ยนสภาพไปตามวันเวลา มีเครื่องมือเครื่องไม้ดีขึ้นหมาะแก่การเรียนรู้ ตลอดถึงสื่อใหม่ๆก็ถูกวางไว้อย่างเป็นระบบ

พี่ตุ้มวิทยากรรุ่นพี่ หรือ จานตุ้ม “จาน” หรือ “อาจารย์” คำที่ผู้เข้ารับการอบรมเรียกพวกเรา แต่เราเองก็ได้ปรามกลับไปเสมอๆ ว่าให้เรียกพี่ เรียกน้อง เรียกลุง เรียกอา เถิดพวกเราแค่เป็นผู้แนะนำ มิใช่เป็นอาจารย์อย่างไร แต่ก็เปล่าประโยชน์ที่จะปรามผู้เข้ารับการอบรมเพราะบอกไปก็แค่นั้นเค้าก็ยังเรียกอยู่เหมือนเดิม

เคยคุยเรื่องนี้กับพี่นนท์อยู่ปรานบุรีไปทีหนึ่งแล้ว แต่การตอบกลับมาก็พี่แก ที่อายุมากกว่าเราซัก ๑๐ปี

“อย่างนี้เค้าไม่เรียกอาจารย์หรอกครูครับ ผมเรียกครูเลย การสอนสิ่งที่เราไม่รู้มาก่อนจนนำไปใช้จริงได้อย่างนี้ต้องเรียกครูแล้วครับ ครู”

คำนี้ต้องนึกถึงให้มาก และต้องมากในฐานะของวิทยากร ผู้ที่จะ บอก เล่า แสดง สาธิต ให้เห็นถึงวิชาที่จะถ่ายทอดกันไป ผมไม่เคยเห็นหรือได้ยินวิทยากรในศูนย์คนไหน แทนตนเองว่าครูหรืออาจารย์เลย มีเพียง คำว่า “ผม ลุง น้า”เท่านั้นที่ได้ยินเป็นประจำ

พี่ตุ้มแกนนำแห่งชุมชนบ้านน้ำเป็น อ.เขาชะเมา จ.ระยอง ผู้สำเร็จอีกหนึ่งในการเป็นแกนนำของชุมชน อีกยังผลิตมังคุดปลอดสารพิษส่งญีปุ่นอีก วันนี้ผู้ใหญ่เลยเรียกทั้งสองคนมาเป่ากระหม่อมกันใหม่อีกรอบ ตั้งแต่การปรับปรุงดิน การทำทางใส้ไก่ ให้น้ำผ่าน การปลูกหลัก ปลูกเสริม การจัดการน้ำ ฯลฯ สุดท้ายด้วยคาถา “ทำบ้านตัวเอง ให้เข้มแข็งก่อน ถ้าบ้านตัวเองไม่เข้มแข็ง ไปช่วยบ้านคนอื่น ก็พังทั้งสองบ้าน”

และเมื่อทั้งสองก็ได้แทนตัวเองในนามศิษสองสลึง โดยมีผู้ใหญ่สมศักดิ์ เครือวัลย์ ในอาจารย์คนเดียวกัน
จึงได้ตั้งสัจจะวาจา ที่หน้าป้ายศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ สองสลึง ต่อหน้าผู้ใหญ่สมศักดิ์ เครือวัลย์ ว่า "เราจะนำความรู้ที่ได้รับการสั่งสอนมาไปปฏิบัติจริง ตลอดจนขยายความรู้ที่ได้มาแก่ชุมชนของตนให้สามารถเข้าใจในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามความเหมาะสมแก่ชุมชนของตนเองต่อไป"

และแล้วก็เริ่มกันเลย
เริ่มก่อนน่ะพี่ตุ้ม มาชมแล้วก็ส่งรูปและรายละเอียดมาด้วย ผมเริ่มก่อนน่ะ
อดีต

เริ่มแล้ว

และถ้า "เลี้ยงดิน ให้ดินเลี้ยงพืช"ให้ภาพบรรยายแทน


บ้านผมไม่ปลูกเหมือนผู้ใหญ่ครับ แค่อะไรตกไปบนดิน ก็ขึ้นเองได้แล้ว

"ตาเอกมันจะโม้มากไปหรือป่าวฮิ"
(ลุงจ๊วน ผู้อวุโสสุดๆ ในศูนย์สองสลึง ท่านผู้นี้ครับที่ยกเก้าอี้และทำความสะอาดบริเวณที่อบรมที่คุณๆ มาใช้บริการกัน แก่มาก่อนทุกๆคนเสมอ บ้างครั้งผมเดินไปเดินมา แกยกเก้าอี้เสร็จหมดแล้ว ขอบุญบารมีที่แกได้มีจิตอาสาช่วยดลบันดาลให้แก่มีสุขภาพที่แข็งแรง ไร้โรคภัยไข้เจ็บ ด้วยเทอญ)

ชุมชนบ้านน้ำเป็น

ตำบลน้ำเป็นอยู่ในเขตการปกครองของ กิ่ง อ.เขาชะเมา มีจำนวนหมู่บ้านทั้งสิ้น7 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่1 บ้านสามแยก หมู่2 บ้านน้ำใส หมู่3 บ้านมาบช้างนอน หมู่4 บ้านเหมืองแร่ หมู่5 บ้านสำนักกะเบา หมู่6 บ้านน้ำเป็น หมู่7 บ้านคลองพระเจ้า

ศูนย์ รวมรวมการเรียนรู้ชุมชน ตำบลน้ำเป็น จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมข้อมูลให้กับคนในชุมชน และชุมชนใกล้เคียง ได้เข้ามาศึกษาและแลกเปลี่ยนข้อมูล โดยที่ทางศูนย์ฯ ได้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ การทำเกษตรอินทรีย์และภูมิปัญญาท้องถิ่นในตำบลน้ำเป็นไว้ในรูปแบบของหลัก สูตรต่างๆ

การทำเกษตรอินทรีย์

เกษตร อินทรีย์ คือ ระบบการเกษตรที่ผลิตอาหารและเส้นใยด้วยความยั่งยืนทั้งทางสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ โดยเน้นหลักที่การปรับปรุงบำรุงดิน การเคารพต่อศักยภาพทางธรรมชาติของพืช สัตว์ และนิเวศการเกษตร เกษตรอินทรีย์ลดการใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอก และหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ เช่น ปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ แต่ในขณะเดียวกัน เกษตรอินทรีย์พยายามประยุกต์กลไกและวัฎจักร ธรรมชาติในการเพิ่มผลผลิต และพัฒนาความต้านทานต่อโรคของพืช และสัตว์เลี้ยง หลักการเกษตรอินทรีย์นี้เป็นหลักการสากล ที่สอดคล้องกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคม ภูมิอากาศ และวัฒนธรรมของท้องถิ่นด้วย

ฐานพลิกแผ่นดิน

เป็นฐานที่ถ่ายทอดการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพและน้ำหมักชีวภาพ โดยใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ ทั้งพืช สัตว์ และมูลสัตว์

การเผาถ่าน

เป็น ฐานที่ถ่ายทอดเกี่ยวกับเทคนิคการเผาถ่าน และการเก็บน้ำส้มควันไม้ โดยการนำเอากิ่งไม้ที่ได้จากการตัดแต่งไม้ผลในสวนมาใช้ในการเผาถ่านเพื่อทำ เป็นถ่านเอนกประสงค์และใช้เป็นพลังงานทดแทนในครัวเรือน และนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ในการเกษตร

การเลี้ยงหมูหลุม

ฐานนี้สอนเกี่ยวกับการเลี้ยงหมูพื้นบ้าน เพื่อนำมูลที่ได้ ไปใช้ในการปรับปรุงบำรุงดิน และต้นไม้ในสวน

วิถีพอเพียง

จะทำอะไรก็ตาม ให้เหมาะสมตามกำลังของตนเองคือ รูปแบบหรือแนวทางในการดำเนินชีวิตโดยน้อมเอาพระราชดำรัสแนวคิดเศรษฐกิจพอ เพียง มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และสภาพสังคม ชุมชนของตนเอง

ฐานน้ำยาเอนกประสงค์

เป็น ฐานที่ถ่ายทอดเทคนิคการทำน้ำยาเอนกประสงค์ต่างๆ เพื่อใช้เป็นเครื่องอุปโภค เพื่อลดต้นทุนการใช้จ่ายในครัวเรือน เช่น น้ำยาล้างจาน แชมพู สบู่ ครีมอาบน้ำ เป็นต้น

การทำน้ำมันมะพร้าว

ถ่าย ทอดเทคนิคการนำเอามะพร้าวที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาเพิ่มค่าเพื่อให้เกิด ประโยชน์สูงสุด และใช้เป็นเครื่องอุปโภคบริโภค ในชีวิตประจำวัน

ฐานยาหลังบ้าน

เป็นฐานที่สอนให้รู้ประโยชน์และเทคนิคในการปลูกพืชผักสวนครัว และพืชสมุนไพรต่างๆ ที่มีประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

คือ มรดกทางวัฒนธรรมอันเกิดจากการพัฒนา การปรับตัว ปรับวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ หรือคนต่างถิ่นที่พกพามาจากแหล่งอารยธรรมต่างๆ จนหลอมรวมกัน เกิดเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น

อาหารพื้นบ้าน

คือ ฐานที่ถ่ายทอดเทคนิคเกี่ยวกับวิธีการถนอมอาหาร ในรูปแบบการปรุงอาหาร เป็นการเพิ่มรสชาติและคุณค่าของอาหารในแต่ละมื้อ เช่น ปลาต้มหวาน หมูชะมวง ผักน้ำพริก กะบก เป็นต้น

เครื่องจักสาน

การรวบรวมเอาภูมิปัญญาท้องถิ่น เกี่ยวกับการแปรรูปพืชที่มีอยู่ในพื้นที่ มาเป็นเครื่องใช้ไม้สอยในครัวเรือน
ที่มาของข้อมูล: สถาบันการจัดการทางสังคม ภาคกลาง

ภาพยังไม่มี พี่ตุ้มส่งมาด่วนด้วยขอรับ

ไม่มีความคิดเห็น: